Category Archives: Manufacturing

CostOptimizer

โดยทั่วไปแล้วการวิเคราะห์ต้นทุนของวิศวกรนั้นมีผลอย่างมากกับการตัดสินใจของผู้บริหารในแต่ละโครงการ โดยซอฟต์แวร์ CostOptimizer จะเกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการออกแบบ Blank อย่างละเอียด, ประเมินความเสี่ยงจากการขึ้นรูปในเบื้องต้น และคำนวณราคาต้นทุนของชิ้นส่วนโลหะแผ่น จึงช่วยให้วิศวกรผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ต้นทุนเบื้องต้นต่อ Blank ของชิ้นงานขึ้นรูปโลหะแผ่นว่ามีราคาทุนเท่าไหร่ สามารถประเมินถึงความเสี่ยงทางวิศวกรรมของการขึ้นรูป ซึ่งผลที่ได้คือผู้ใช้สามารถประเมินราคาขายเพื่อนำเสนอต่อลูกค้าได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งซอฟต์แวร์ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยลดการใช้วัตถุดิบและน้ำหนักของชิ้นงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แบบ Coupled Hybrid Inverse (CHI Solver) เข้ามาช่วยให้การวิเคราะห์ Springback และขนาด Blank ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น  ในส่วนของการทำ Nesting นั้น จุดประสงค์ของการใช้ซอฟต์แวร์ CostOptimizer เพื่อให้เกิดการใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยอ้างอิงจากขนาดหน้า Coil ที่ใช้ และระยะ Pitch ที่ถูกกำหนดขึ้น อีกทั้งรูปแบบการทำ Nesting ยังมีให้เลือกหลากหลายตั้งแต่ 1-up, 2-up, 2 blanks หรือ การจำเรียงแบบ Mirrored ซึ่งจะเหมาะกับการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) ซึ่งในส่วนของการผลิตจำนวนไม่มากก็สามารถใช้ Slit Sheets ได้เช่นกัน โดยข้อมูลจากการวิเคราะห์ทั้งหมดจะถูกส่งออกมาในรูปแบบรายงานที่สามารถนำมาพิจารณาหรือใช้งานต่อได้อย่างง่ายดาย ช่วยย่นระยะเวลาการลองผิดลองถูกและเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ต้นทุนจากเดิมได้เป็นอย่างดี Highlights CostOptimizer

FastForm Advanced

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานวิเคราะห์ชิ้นงานและกระบวนการขึ้นรูปโลหะแผ่น เพื่อดูความเป็นไปได้ การประเมินขนาดและรูปร่างของ Blank และการคืนกลับของชิ้นงาน อีกทั้งยังสามารถระบุตำแหน่งของการฉีกขาด และรอยย่นของชิ้นงานจากการขึ้นรูป ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาจากการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม ตัวซอฟต์แวร์ได้นำเทคนิค Coupled Hybrid Inverse (CHI) ของ FTI มาใช้ เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำของการวิเคราะห์ผล ทำให้วิศวกรออกแบบสามารถนำความต้องการหลักของผลิตภัณฑ์ Key Product Requirements (KPR) และการออกแบบเพื่อการผลิต Design for Manufacturability (DFM) มาผสมผสานให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งในการนำเทคนิคความต้องการหลักของผลิตภัณฑ์ Key Product Requirements (KPR) มาใช้นั้นจะช่วยให้วิศวกรออกแบบสามารถลดผลกระทบที่เกิดจากคุณภาพ ความปลอดภัย และเป็นไปตามกฏข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในส่วนของการออกแบบเพื่อการผลิตหรือ Design for Manufacturability (DFM) ซึ่งจะช่วยให้วิศวกรออกแบบประเมินคุณสมบัติพื้นฐานหลังจากการขึ้นรูปของชิ้นงานได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการแตกร้าวหรือรอยย่นบนพื้นชิ้นงานหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์การดีดกลับของชิ้นงาน (Springback) หลังจากการขึ้นรูปได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณขนาดของ Blank และอัตราการใช้วัสดุ (Material Utilization) รวมทั้งน้ำหนักของ Blank โดยสรุปข้อมูลทั้งหมดให้ออกมาในรูปแบบรายงานไฟล์สกุล Excel หรือ

NEWS