Author Archives: 5zbccs

MSC Nastran

ซอฟต์แวร์ไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับวิเคราะห์โครงสร้างโดยทั่วไป สำหรับคำนวณปัญหาทางวิศวกรรมเพื่อหาความเค้น ความเครียด การถ่ายเทความร้อน การสั่นสะเทือนทางกล การเสียรูปในแบบอีลาสติกและพลาสติก ปัญหา Contact การล้า เป็นต้น MSC Nastran เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนามากว่า 50 ปี และใช้งานกันอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ อากาศยาน ยานยนต์ เรือ ฯลฯ โดยได้รับการยอมรับในเรื่องของความถูกต้อง แม่นยำ หลากหลาย และรวดเร็วในการคำนวณ Highlights ท่านสามารถใช้งาน MSC Nastran ผ่านระบบ Token ด้วยซอฟต์แวร์

MSC Apex

เป็นซอฟต์แวร์สำหรับออกแบบวิเคราะห์โครงสร้างแบบ All-In-One ยุคใหม่ที่กวาดรางวัลเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ดีเด่นมากมายทั่วโลก MSC Apex ผสมผสานความสามารถในด้านของการสร้างโมเดลสามมิติ เข้ากันกับโมเดลไฟไนต์เอลิเมนต์ ทำให้สามารถแก้ไขส่วนที่เสียหาย ปรับปรุงโมเดลให้เหมาะกับการสร้างเมช การปรับรูปร่างของโมเดล ได้โดยไม่ต้องกลับไปที่ซอฟต์แวร์ CAD อีกทั้งมีศักยภาพการสร้างเอลิเมนต์ในแบบ 1, 2, 3 มิติได้ทั้งแบบ Automatic และแบบ manual โดยเฉพาะการสร้างพื้นผิวตรงกลางแผ่นบาง (Mid-Surface) เพื่อสร้าง Shell Element สำหรับงานแผ่นบางทั่วไปที่สามารถกำหนดคุณลักษณะความหนาโดยอัตโนมัติ ทำให้สะดวกสำหรับงานพลาสติกที่มีความหนาไม่เท่ากัน รูปแบบการสร้างและแก้ไขโมเดลจะเป็นแบบ Push and Pull โดยสามารถกระทำได้ที่ตัวโมเดลได้โดยตรง ทำให้สามารถลดปุ่มบนเมนู  อีกทั้งเมื่อทำการเปลี่ยนแปลงโมเดลสามมิติ โมเดลไฟไนต์เอลิเมนต์ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังควบรวมศักยภาพของการคำนวณโดยเทคโนโลยี MSC Nastran ทำให้ครบองค์ประกอบของ Pre-Solver-Post ที่ทันสมัย ใช้งานง่าย รวดเร็ว คล่องตัว เรียนรู้ได้จากสื่อวิดีโอมากมาย  Highlights กรณีศึกษาจากองค์กรที่ใช้ MSC Apex ท่านสามารถใช้งาน MSC Apex ผ่านระบบ Token ด้วยซอฟต์แวร์

Marc

เป็นซอฟต์แวร์ด้านไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับวิเคราะห์ปัญหาด้านโครงสร้างแบบไม่เป็นเชิงเส้นตรง (Nonlinear Structural Analysis) โดยทั่วไปสำหรับวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมชั้นสูงด้านต่าง ๆ เช่น การออกแบบยาง การขึ้นรูปโลหะ การถ่ายเทความร้อน รวมถึงการวิเคราะห์ด้าน Multiphysics ในแบบต่าง ๆ Marc ถือเป็นซอฟต์แวร์ทางด้าน Nonlinear แบรนด์แรกของโลก ที่ถูกพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 1971 ดังนั้นความน่าเชื่อถือถึงผลการคำนวณจึงเป็นที่ยอมรับ และได้ถูกอ้างอิงในการตีพิมพ์ในวารสารทางด้านการคำนวณเชิงวิศวกรรมมากมาย Highlights ท่านสามารถใช้งาน Marc ผ่านระบบ Token ด้วยซอฟต์แวร์

CAEfatigue

ซอฟต์แวร์ทางด้านไฟไนต์เอลิเมนต์ที่ใช้วิเคราะห์ป้ญหาด้านความคงทนของชิ้นงาน รวมถึงการประมาณอายุของชิ้นงานที่เกิดจากแรงกระทำแบบซ้ำไปซ้ำมา หรือที่เรียกว่า “การล้า” โดยการล้านี้เอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมักจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด และมักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อจำนวนรอบของการใช้งานเข้าสู่ภาวะวิกฤต ดังนั้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตคน ดังเช่นยานพาหนะต่าง ๆ คือ รถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนทดแทนที่มีราคาสูงหรือไม่สามารถเปลี่ยนได้โดยง่าย เช่นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พลังงาน ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องคำนึงถึงความเสียหายที่เกิดจากการล้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการออกแบบ CAEfatigue จะช่วยวิศวกรด้านความคงทน ในการประมาณอายุการใช้งานของชิ้นส่วน ภายใต้แรงแปรผันตามเวลาที่มาจากหลากหลายทิศทาง และหลากหลายรูปแบบ คือ แรงทางกล และแรงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความร้อนที่ทำให้ชิ้นส่วนขยายและหดตัว โดยวิศวกรสามารถประเมินความเสี่ยงในเชิงสถิติ และสามารถปรับเปลี่ยนวัสดุ ปรับโครงสร้าง รวมถึงการปรับรูปแบบการใช้งานให้สอดคล้องและสมดุล ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนจากการลองผิดลองถูก ลดการทดสอบภาคสนามและในห้องทดสอบ และที่สำคัญคือการลดการเคลมชิ้นส่วนระหว่างระยะเวลาประกัน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มการเชื่อมั่นของลูกค้าต่อแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ Highlights 

Easy5

ใช้จำลองระบบการควบคุมพลศาสตร์ สำหรับการออกแบบระบบการควบคุมกลไกและการสั่งงานการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบวาล์ว และท่อต่าง ๆ ในเครื่องยนต์ ระบบ Actuators ต่าง ๆ ระบบการถ่ายเทความร้อน (Heat Exchanger) และอื่น ๆ ได้รับการออกแบบสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows ที่มีการติดต่อกับผู้ใช้ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วในรูปแบบ Schematic-based simulation ซึ่งมีโมเดลมากมายให้เลือกใช้ เช่น ระบบไฮดรอลิก, นิวแมติก, กลไกระบบที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ, ระบบไฟฟ้า เป็นต้น หรือสามารถเรียกใช้งานระบบได้จาก Library ที่มีอยู่เดิม Highlights

Dytran

โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์ที่พัฒนาการคำนวณมาจากวิธี Explicit ที่เหมาะสำหรับการคำนวณปัญหาแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Nonlinear) ที่เกิดการเสียรูปแบบถาวรของโครงสร้างที่เกิดจากแรงกระทำแบบฉับพลัน ไม่ว่าวัตถุนั้นจะเป็นของแข็ง ของไหล หรือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างของแข็งและของไหล (Fluid Structure Interaction, FSI) ดังเช่น การวิเคราะห์ด้านการชน การตกของวัตถุ คลื่นกระแทกจากการระเบิด เป็นต้น ด้วยศักยภาพการคำนวณที่น่าเชื่อถือ ทำให้ Dytran ถูกใช้สำหรับการออกแบบในหลากหลายอุตสาหกรรมคือ อุตสาหกรรมยานยนต์: ใช้สำหรับการวิเคราะห์การชนของรถยนต์ในด้านต่าง ๆ การออกแบบถุงลมนิรภัย การออกแบบเข็มขัดนิรภัย การวิจัยการเคลื่อนที่ของหุ่นที่ใช้ทดสอบแทนมนุษย์ (Dummy)ภายใต้แรงกระแทก การออกแบบลายดอกยางเพื่อการรีดน้ำที่มีประสิทธิภาพ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์: ใช้เพื่อการวิเคราะห์ด้านการตกกระแทก (Drop Test) ของอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อให้สามารถออกแบบโครงสร้างที่ดีที่สุด อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์: ใช้เพื่อการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ต้องรับแรงกระแทก เช่นการออกแบบแกลลอนบรรจุน้ำมันที่มีของเหลวอยู่ภายใน การออกแบบโฟมเพื่อรองรับการกระแทก เป็นต้น หน่วยงานวิจัยทางทหาร: ใช้เพื่อการออกแบบด้านการระเบิด การเคลื่อนตัวของ Shock Wave การออกแบบเสื้อเกราะกันกระสุน เป็นต้น อุตสาหกรรมอากาศยาน: ใช้เพื่อการออกแบบโครงสร้างเครื่องบินภายใต้แรงกระแทกแบบต่างๆ รวมถึงการออกแบบใบพัดของเครื่องยนต์เพื่อป้องกันการบินชนของนก เป็นต้น อุตสาหกรรมการผลิต: ใช้ Dytran เพื่อวิเคราะห์การเสียรูปของโลหะแผ่น และการวิเคราะห์ด้านการตีขึ้นรูปโลหะ (Forging) เป็นต้น ท่านสามารถใช้งาน Dytran ผ่านระบบ Token ด้วยซอฟต์แวร์

NEWS