Introduction to Abaqus

Introduction to Abaqus

When

ธันวาคม 31, 2024    
9:00 am - 4:00 pm
20,000 บาท / คน (ราคายังไม่รวม VAT) จำนวน 5 วัน

Type

Introduction to Abaqus

หลักสูตรอบรมนี้เป็นการแนะนำแบบครบวงจรเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างโมเดลและการวิเคราะห์ของซอฟต์แวร์ SIMULIA Abaqus ซึ่งได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้เรียนที่ไม่มีประสบการณ์การใช้งานซอฟต์แวร์ Abaqus มาก่อน ผู้เรียนจะได้รับความรู้ในการแก้ปัญหาแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้นจากการทำกับรูปทรงเรขาคณิต การสร้างเมช การตั้งค่าแบบจำลองปัญหา การส่งผลและติดตามผลลัพธ์จากแบบจำลอง ไปจนถึงการดูผลลัพธ์การจำลองโดยใช้อินเตอร์เฟซของซอฟต์แวร์ Abaqus

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียนจะเข้าใจเนื้อหาความรู้และทักษะการใช้งานซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลองและวิเคราะห์ในเรื่องต่าง ๆ เมื่ออบรมหลักสูตรนี้จบแล้ว ผู้เรียนจะมีความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์ Abaqus/CAE, Abaqus/Standard และ Abaqus/Explicit

หัวข้อในการบรรยายและปฏิบัติ

  • การวิเคราะห์เชิงโครงสร้างแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้น
  • การวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนทั้งในแบบ Static และแบบ Dynamic
  • แบบจำลองวัสดุแบบ linear elasticity, hyper- elasticity, และ metal plasticity
  • การรับแรงที่กระทำและข้อกำหนด
  • แบบจำลองหน้าสัมผัส
  • การเลือกใช้วิธีการสร้างเอลิเมนต์ที่เหมาะสมกับรูปแบบปัญหาในงาน
  • การสร้างแบบจำลองตามคุณลักษณะ ชิ้นส่วน และการประกอบชิ้นงาน
  • การใช้งานร่วมกับชิ้นงานที่วาดด้วย CAD และการนำเข้าชิ้นงานที่สร้างเมชมาแล้ว
  • เทคนิคการสร้างเมช
  • การสร้างแบบจำลอง, การส่งผลลัพธ์ และการดูผลลัพธ์ในงานวิเคราะห์
  • การดูผลของแบบจำลอง
  • การเริ่มวิเคราะห์ใหม่อีกครั้ง

เนื้อหาในหลักสูตร

บทที่ 1                          บทนำและภาพรวมของซอฟต์แวร์ Abaqus
บทที่ 2                          เริ่มต้นการใช้งานซอฟต์แวร์ Abaqus/CAE
บทที่ 3                          การสร้างรูปทรงชิ้นงาน
บทที่ 4                          คุณสมบัติวัสดุและส่วนต่าง ๆ
บทที่ 5                          การประกอบใน Abaqus
บทที่ 6                          ขั้นตอน, ผลลัพธ์ที่ต้องการให้แสดง, แรงที่กระทำ และ เงื่อนไขขอบเขต
บทที่ 7                          การสร้างเมชบนชิ้นงานรูปทรงทั่วไปและชิ้นงานที่นำเข้า
บทที่ 8                          การจัดการแบบจำลองและการดูผลลัพธ์
บทที่ 9                          ปัญหาแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้น
บทที่ 10                        ขั้นตอนการวิเคราะห์
บทที่ 11                        เทคนิคการวิเคราะห์แบบต่อเนื่อง
บทที่ 12                        ข้อจำกัดและจุดเชื่อมต่อ
บทที่ 13                        กำหนดพื้นที่สัมผัส

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • วิศวกรนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  • วิศวกรผู้ออกแบบในวิศวกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้อง
  • อาจารย์ นักวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการการสอน CAE
  • นักศึกษาด้านวิศวกรรมและผู้สนใจ

รูปแบบการสอน

  • บรรยายประกอบการใช้ซอฟต์แวร์ CAE ชั้นนำ
  • หนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์

ราคาค่าอบรม
20,000 บาท (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ระยะเวลา
5 วัน, เวลา 09:00 – 16:00

วันที่อบรม

สถานที่อบรม
UNDO Center อาคารสินสาธรทาวเวอร์ ชั้น 23 ถ.กรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี)

 

 

NEWS