
When

Type
Computational Fluid Dynamics
พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) เป็นหลักสูตรต่อยอดจากหลักสูตร CAE Essentials ผู้เรียนจะได้เรียนรู้แนวคิดและทฤษฎีที่อธิบายการไหลของของไหล 4 ประเภทสำหรับ CFD โดยเฉพาะ ซึ่งครอบคลุมถึงกฎการอนุรักษ์มวล, กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม, กฎการอนุรักษ์พลังงาน, เงื่อนไขขอบเขต, การจำลองโดยวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์, การจำลองโดยวิธีไฟไนต์โวลุ่ม, คลื่นช็อก, ปัญหาที่พบในการวิเคราะห์ CFD, เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่าง CFD กับคำตอบที่แม่นยำ, ปรากฏการณ์การเกิดการไหลแบบปั่นป่วน (Turbulence) และแบบจำลองการไหล ผู้เรียนควรมีพื้นฐานความรู้ด้าน CAE Essentials และวิธีการทางคณิตศาสตร์เชิงตัวเลข (Numerical Methods) ก่อนที่จะเรียนรู้หลักสูตรนี้
หัวข้อในการบรรยาย
- สมการนาเวียร์–สโตกส์ (Navier-Stokes Equations)
- ทำไมปัญหาการไหลของของไหลจึงยากกว่าปัญหาวิศวกรรมอื่น ๆ
- ระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ (Finite Element Method, FEM) สำหรับการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ
- ระเบียบวิธีไฟไนต์โวลุ่ม (Finite Volume Method, FVM) สำหรับการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ
- การจัดรูปแบบ FEM และ FVM สำหรับปัญหาการไหลทั้ง 4 ประเภท
(a) การไหลที่ไม่มีความหนืดและไม่สามารถอัดตัวได้ (Inviscid Incompressible Flow)
(b) การไหลที่ไม่มีความหนืดและสามารถอัดตัวได้ (Inviscid Compressible Flow)
(c) การไหลที่มีความหนืดและไม่สามารถอัดตัวได้ (Viscous Incompressible Flow)
(d) การไหลที่มีความหนืดและสามารถอัดตัวได้ (Viscous Compressible Flow) - การไหลที่มีความปั่นป่วน (Turbulent Flow) และแบบจำลองการไหลที่มีความปั่นป่วน (Turbulent Models)
- ตัวอย่างทางวิชาการและการประยุกต์ใช้งาน
หัวข้อในภาคปฏิบัติ
- การเปรียบเทียบการไหลแบบราบเรียบ (Laminar) และการไหลแบบกวน (Turbulent) ในที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าตัดอย่างฉับพลัน (Backstep)
- การไหลภายนอกของอากาศผ่านตัวรถยนต์
- การไหลภายในท่อที่มี 2 ช่องทางเข้า และ 1 ช่องทางออก พร้อมกับเมชที่ปรับได้โดยอัตโนมัติ (Adaptive Mesh)
- การสูญเสียแรงดัน (Pressure Loss)
- การนำความร้อนม การถ่ายโอนความร้อนจากครีบระบายความร้อน
- การถ่ายโอนความร้อนโดยธรรมชาติ (Natural Convection)
- การถ่ายโอนความร้อนจากรังสี Solar Panel
- การไหลของของไหลที่บีบอัดตัวได้, การไหลรอบวัตถุทรงแหลม (Wedge)
- การระบายอากาศและการควบคุมอากาศ (HVAC)
ภาคทฤษฎี บรรยายโดย ศ. ดร. ปราโมทย์ เดชะอำไพ
ภาคปฏิบัติ โดยทีมงาน CAE
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
- วิศวกรนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
- วิศวกรผู้ออกแบบในวิศวกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้อง
- อาจารย์ นักวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการการสอน CAE
- นักศึกษาด้านวิศวกรรมและผู้สนใจ
รูปแบบการสอน
- บรรยายประกอบการใช้ซอฟต์แวร์ CAE ชั้นนำ
- หนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์
ราคาค่าอบรม
20,000 บาท (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ระยะเวลา
4 วัน, เวลา 09:00 – 16:00
วันที่อบรม
10, 11, 17, 18 มิถุนายน 2568
สถานที่อบรม
UNDO Center อาคารสินสาธรทาวเวอร์ ชั้น 23 ถ.กรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี)