Author Archives: 5zbccs

ซิกมาโซลูชั่นส์ ได้รับรางวัล Largest New Named Account Revenue & Most New Named Accounts ประจำปี 2018

จาก Dassault Systèmes ผู้คิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก บริษัท ซิกมาโซลูชั่นส์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการงานวิเคราะห์เพื่อการออกแบบและแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรม มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะแจ้งให้ทราบว่า บริษัทฯ ได้รับรางวัล 2018 Largest New Named Account Revenue & Most New Named Accounts จาก Dassault Systèmes ผู้คิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก อาทิเช่น CATIA, 3DEXPERIENCE, Simulia Abaqus, Simulia XFlow เป็นต้น รางวัลนี้นำมาซึ่งความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจในประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์และบริการของเราที่มีต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบริษัทฯ จะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากลูกค้าทุก ๆ ท่านต่อไปในอนาคต  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่ ฝ่ายขาย บริษัท ซิกมาโซลูชั่นส์ จำกัด โทร. 0-2862-1188 www.sigmasolutions.co.th

ซิกมาโซลูชั่นส์ แนะนำเทคนิคการใช้ซอฟต์แวร์ CATIA V5 แก่วิศวกรและผู้สนใจ

เพื่อใช้ต่อยอดการทำงานด้านการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD) (13-14 ธันวาคม 2561) บริษัท ซิกมาโซลูชั่นส์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการงานวิเคราะห์เพื่อการออกแบบและแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรม แนะนำเทคนิคการใช้ซอฟต์แวร์ CATIA V5 เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอดการทำงานด้านการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD) แก่ทีมวิศวกรและผู้สนใจ เป็นการนำเสนอหัวข้อซึ่งกำลังเป็นที่สนใจในวงการอุตสาหกรรม โดยในวันแรกเป็นการนำเสนอในเรื่องของ CATIA V5 Product Knowledge Template ซึ่งโชว์จุดเด่นด้านการสร้าง Template เฉพาะของแต่ละผู้ใช้งานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อย ๆ ช่วยลดเวลาในการสร้างแบบ และใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ส่วนในวันที่สองเป็นเรื่องของ CATIA V5 Reverse Engineering กับความสามารถในการนำเข้าไฟล์สแกนได้หลายรูปแบบไฟล์ จัดการข้อมูลไฟล์สแกนได้ง่าย กระบวนการผลิตชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) ได้สะดวก สร้างเส้นโครง 3D และผิวงานได้อย่างรวดเร็ว เป็นการนำจุดเด่นของ CATIA V5 ในด้าน Surface มาปรับปรุงพื้นผิวเพื่อสร้างงานที่มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลได้อย่างง่ายดาย งานมีขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องฝึกอบรม

ซิกมาโซลูชั่นส์ แนะนำ Simulia XFlow เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาการไหลภายใต้สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ

ด้านอากาศพลศาสตร์ การไหลของน้ำหรืออากาศที่ส่งผลต่อการเสียรูปของโครงสร้าง เป็นต้น (23 พฤศจิกายน 2561) บริษัท ซิกมาโซลูชั่นส์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการงานวิเคราะห์เพื่อการออกแบบและแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรม จัดการบรรยายเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ XFlow Introductory Workshop – High Fidelity CFD Based on Lattice-Bolzmann Method เพื่อเป็นการแนะนำซอฟต์แวร์ Simulia XFlow 2018 ที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความต้องการด้านการจำลองสถานการณ์เพื่อการวิเคราะห์พลศาสตร์การไหลของของไหลที่เกิดจากอากาศ น้ำ ลม เสียง การไหล แรงกด แรงต้าน ที่มีผลกระทบต่อการเสียรูปของพื้นผิวหรือโครงสร้างภายใต้การคำนวณทั้งด้านกลศาสตร์และพลศาสตร์ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก โดยได้ยกตัวอย่างการจำลองสถานการณ์ทางด้าน Vehicle Aero Dynamics ด้าน Fluid-Structure Interaction (FSI) และตัวอย่างวิเคราะห์การไหลบนพื้นผิวต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน XFlow ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Simulia ภายใต้บริษัท Dassault Systèmes ผู้คิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก

ซิกมาโซลูชั่นส์ แนะนำซอฟต์แวร์ Cradle ผู้ช่วยจำลองสถานการณ์ด้าน CFD

เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจำลองเหตุการณ์การไหลของของไหล (16 พฤศจิกายน 2561) บริษัท ซิกมาโซลูชั่นส์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการงานวิเคราะห์เพื่อการออกแบบและแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรม จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Cradle Introductory Workshop” เพื่อเป็นการแนะนำซอฟต์แวร์ที่ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการจำลองเหตุการณ์การไหลของของไหลในตระกูล Cradle มีคุณสมบัติและวัตถุประสงค์การทำงานที่แตกต่างกันไป เป็นซอฟต์แวร์ที่มีเครื่องมือที่ใช้งานง่าย มีแอพพลิเคชั่นเพื่อการวิเคราะห์ด้าน CFD (Computational Fluid Dynamics) ที่หลายหลาย สามารถวิเคราะห์โครงสร้าง การวิเคราะห์การไหลแบบหลายเฟส หรือทำ mesh ที่มีความซับซ้อนประกอบด้วยหลายเหลี่ยมหลายมุมได้เป็นอย่างดี พร้อมให้ผลการคำนวณที่แม่นยำในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งซอฟต์แวร์ในตระกูล Cradle ที่นำมาแนะนำในครั้งนี้ประกอบด้วย scFLOW เป็นที่นิยมมากสำหรับใช้ในการจำลองพลศาสตร์ด้านอากาศสำหรับรถยนต์ทั้งภายในและภายนอก การประเมินอุปกรณ์เครื่องใช้แบบหมุนเวียน เช่น พัดลม เครื่องสูบน้ำ การทำนายการเกิดโพรงอากาศและการกัดเซาะในอุปกรณ์ต่าง ๆ การออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักล้างต่าง ๆ การวิเคราะห์การไหลของท่อและหัวฉีดภายใน การวิเคราะห์สิ่งที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางเคมี ได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์ ตัวเร่งปฏิกิริยา เตาเผา และ CVD รวมถึงการวิเคราะห์การไหลแบบหลายเฟส เช่น การผสมผสาน

อัพเดทนวัตกรรมใหม่ ต่อยอดการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในงาน MSC Software Thailand Users Conference 2018

กับหลากหลายซอฟต์แวร์จากบริษัทผู้พัฒนาอย่าง MSC Software, Simufact และ Cradle (5 ตุลาคม 2561) บริษัท ซิกมาโซลูชั่นส์ จำกัด ร่วมกับ MSC Software อัพเดทนวัตกรรมใหม่ประจำปี 2018 เพื่อใช้ต่อยอดการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์และจําลองแบบเชิงวิศวกรรมในงาน “MSC Software Thailand Users Conference 2018” กับการนำเสนอเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในเวอร์ชั่นล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญ MSC Software การวิเคราะห์กระบวนการผลิตโดยผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ Simufact กรณีศึกษาด้านพลศาสตร์การไหลด้วยซอฟต์แวร์ Cradle การบรรยายพิเศษจาก ศ.ดร. ปราโมทย์ เดชะอำไพ และรับชมตัวอย่างวิธีวิเคราะห์ผ่านกรณีศึกษาจริงจากผู้ใช้ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้า อาจารย์ และวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี CAE (Computer Aided Engineering) เป็นจำนวนมาก งานมีขึ้น ณ ห้องศรีนครินทร์ 2 โรงแรมดุสิต ปริ้นเซส ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ

ซิกมาโซลูชั่นส์ ร่วมกับสถาบันพลาสติก แนะนำซอฟต์แวร์เฉพาะทางด้านการคำนวณสมบัติเชิงกลของวัสดุผสม

เป็นการคำนวณสมบัติเชิงกลของวัสดุผสมสําหรับการวิเคราะห์โครงสร้างด้วย FEA (29 มิถุนายน 2561) บริษัท ซิกมาโซลูชั่นส์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการงานวิเคราะห์เพื่อการออกแบบและแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรม โดยการสนับสนุนจากสถาบันพลาสติก สถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อเรื่อง “สมบัติเชิงกลของวัสดุผสมสําหรับการวิเคราะห์โครงสร้างด้วย FEA” โดยได้เชิญ Mr.Soumik Chakrabarty ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุผสมจากบริษัท e-Xstream Engineering ที่นำซอฟต์แวร์เฉพาะทางอย่าง Digimat มาใช้ในการคำนวณสมบัติเชิงกลของวัสดุผสมด้วยเทคโนโลยี Mean-Field Homogenization และ Finite Element Homogenization เพื่อการวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุชนิดต่าง ๆ เช่น Elastic, Elastoplastic, Hyperelastic, Viscoelastic ฯลฯ ด้วยวิธี Finite Element Analysis โดยมีนักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการ วิศวกร และผู้สนใจที่ด้านการออกแบบและวิเคราะห์วัสดุผสมชนิดใหม่เข้าร่วมฟังการบรรยาย งานมีขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Digimat ได้ที่ฝ่ายขาย

NEWS